เมนู

ด้วยความอาฆาตในหญิง จึงตีพระเถระ แล้วพาหญิงนั้นกลับไป.
ทั่วสรีระของพระเถระได้เป็นปมเกิดขึ้นแล้ว. ครั้นในกาลแห่งพระ-
เถระนั้นมาสู่วิหาร ภิกษุทั้งหลายพากันนวดสรีระ เห็นปมแล้วถามว่า "นี่
อะไร ?" ท่านบอกเนื้อความนั้นแก่ภิกษุเหล่านั้น.
ลำดับนั้น พวกภิกษุถามท่านว่า " ผู้มีอายุ ก็เมื่อบุรุษนั้นประหาร
อยู่อย่างนั้น, ท่านได้กล่าวอะไร ? หรือความโกรธเกิดแก่ท่านไหม ?"
พระเถระกล่าวว่า " ผู้มีอายุทั้งหลาย ความโกรธย่อมไม่เกิดขึ้นแก่เรา."
ภิกษุเหล่านั้น ไปสู่สำนักของพระศาสดา กราบทูลเนื้อความนั้นแล้ว
กราบทูลว่า " พระเจ้าข้า ภิกษุนั้น อันข้าพระองค์ทั้งหลายกล่าวอยู่ว่า
' ความโกรธย่อมเกิดขึ้นแก่ท่านไหม ' ยังกล่าวได้ว่า ' ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย
ความโกรธย่อมไม่เกิดขึ้นแก่เรา,' ภิกษุนั้นกล่าวคำไม่จริง พยากรณ์
อรหัตผล."

พระขีณาสพแม้ถูกตีก็ไม่โกรธ


พระศาสดาทรงสดับถ้อยคำของภิกษุเหล่านั้นแล้ว ตรัสว่า " ภิกษุ
ทั้งหลาย ธรรมดาพระขีณาสพทั้งหลาย มีอาชญาอันวางแล้ว, พระขีณาสพ
เหล่านั้น ย่อมไม่ทำความโกรธในชนทั้งหลาย แม้ผู้ประหารอยู่ " ดังนี้แล้ว
ตรัสพระคาถานี้ว่า :-
22. นิธาย ทณฺฑํ ภูเตสุ ตเสสุ ถาวเรสุ จ
โย น หนฺติ น ฆาเตติ ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํ.
" ผู้ใดวางอาชญาในสัตว์ทั้งหลาย ผู้สะดุ้งและ
ผู้มั่นคง ไม่ฆ่าเอง ไม่ใช้ให้ผู้อื่นฆ่า, เราเรียกผู้นั้น
ว่า เป็นพราหมณ์."

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นิธาย ได้แก่ วางแล้ว คือ ปลงลง
แล้ว.
สองบทว่า ตเสสุ ถาวเรสุ จ ความว่า ผู้ชื่อว่าสะดุ้ง เพราะความ
สะดุ้งด้วยสามารถแห่งตัณหา และผู้ชื่อว่า มั่นคง เพราะความเป็นผู้มั่นคง
โดยความไม่มีแห่งตัณหา.
สองบทว่า โย น หนฺติ เป็นต้น ความว่า ผู้ใด ชื่อว่ามีอาชญาอัน
วางแล้ว เพราะความเป็นผู้มีปฏิฆะไปปราศแล้วในสัตว์ทั้งปวงอย่างนี้ ย่อม
ไม่ฆ่าเอง ไม่ใช้ให้ผู้อื่นฆ่า ซึ่งสัตว์อะไรๆ, เราเรียกผู้นั้นว่า เป็น
พราหมณ์.
ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดา-
ปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.
เรื่องภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง จบ.